หลักการอ่านออกเสียง
หลักการอ่านออกเสียง
หลักการอ่านออกเสียงเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง หากผู้อ่านออกเสียงชัดเจน ย่อมช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ผู้ฟังสามารถรับสารได้อย่างสมบูรณ์ จึงควรฝึกให้ชำนาญ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คำไทยส่วนมากเราออกเสียงกันได้ถูกต้อง คำที่มีปัญหาในการออกเสียงมักเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ฉะนั้นการ
อ่านออกเสียงจึงควรต้องคำนึง
2. อ่านประเด็นสำคัญ ในการอ่านถ้าผู้ฟังมีต้นฉบับตามที่เราอ่านอยู่ในมือ ผู้อ่านอาจอ่านได้ในอัตราที่ค่อนข้างเร็ว
อาจข้ามข้อความบางตอนไปได้ ต้องบอกให้ผู้ฟังรู้ว่าจะข้ามตอนไหน และจะเริ่มอ่านต่อตรงไหน
3. คำที่ออกเสียงยาก ผู้อ่านควรฝึกอ่านไว้ล่วงหน้า เช่น คำสฤษฎ์ อ่าน สะ-หริด ชุกชี อ่าน ชุก-กะ-ชี
4. อ่านข้อเขียน ถ้าอ่านจากข้อเขียนที่เป็นลายมือของตนเองควรเขียนต้นฉบับให้อ่านง่าย ตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่พอ
อย่าให้มีขูด ขีด ฆ่า หรือโยงกลับไปกลับมาจนทำให้สับสนในขณะที่อ่าน การอ่านให้ผู้อื่นฟังนั้นจะต้องอ่านให้ต่อเนื่องกันไปโดยตลอด
จะหยุดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้
5. การรู้ความหมายของคำ จะทำให้อ่านคำได้ถูกต้อง เช่น อรหันต์ อ่านออกเสียง ออ-ระ-หัน หมายถึง สัตว์ในนิยาย
มีสองเท้ามีปีก หัวเหมือนคนผู้วิเศษ อรหันต์ อ่านออกเสียง อะ-ระ-หัน หมายถึง ผู้สำเร็จธรรมพิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา
กรี อ่านออกเสียง กะ-รี หมายถึง ช้าง อ่านออกเสียง กรี หมายถึง กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
6. การอ่านบทร้อยกรอง ต้องคำนึงถึงฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ และต้องอ่านเพื่อเอื้อสัมผัสด้วยจึงจะมีความไพเราะ
เช่น สินสมุทรสุดคิดถึงบิตุเรศ คำที่ขีดเส้นใต้ควรอ่าน บิด-ตุ-เรด เพื่อให้เอื้อสัมผัสกับคำว่าผิด
7. การเว้นวรรค การอ่านเว้นวรรคได้ถูกต้องจะทำให้สื่อความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์ เช่น
ฉันไม่รู้ / จะตอบ / แทนเธอ / อย่างไรดี ฉันไม่รู้ / จะตอบแทน / เธอ / อย่างไรดี (เป็นการแบ่งวรรคได้ถูกต้องสามารถสื่อ
ความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์)
8. อ่านจากสิ่งพิมพ์ จะต้องตรวจทานดูให้ดีว่า การพิมพ์เว้นวรรคตอนไว้ถูกต้องเพียงไร
9. ต้องทรงตัวและใช้กิริยาอาการ ให้ถูกวิธี
10. ใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพ การฝึกทักษะในการใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพควรคำนึงถึง
- อัตราเร็วในการเปล่งเสียง
- ความดังในการเปล่งเสียง
- ระดับความสูงต่ำของเสียง
- คุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยเฉพาะ
11. อ่านให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทที่อ่านนั้นครบถ้วน ทั้งสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรอง ๆ ลงไป
12. อ่านให้ผู้ฟังสนใจฟัง อยู่ตลอดเวลา
การอ่านในใจโดยบอกสาระที่ให้ความรู้ได้