วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลักการอ่านออกเสียง

หลักการอ่านออกเสียง



หลักการอ่านออกเสียง
หลักการอ่านออกเสียงเป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง หากผู้อ่านออกเสียงชัดเจน ย่อมช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ 
ผู้ฟังสามารถรับสารได้อย่างสมบูรณ์ จึงควรฝึกให้ชำนาญ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
คำไทยส่วนมากเราออกเสียงกันได้ถูกต้อง คำที่มีปัญหาในการออกเสียงมักเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ฉะนั้นการ
อ่านออกเสียงจึงควรต้องคำนึง
2. อ่านประเด็นสำคัญ ในการอ่านถ้าผู้ฟังมีต้นฉบับตามที่เราอ่านอยู่ในมือ ผู้อ่านอาจอ่านได้ในอัตราที่ค่อนข้างเร็ว 
อาจข้ามข้อความบางตอนไปได้ ต้องบอกให้ผู้ฟังรู้ว่าจะข้ามตอนไหน และจะเริ่มอ่านต่อตรงไหน
3. คำที่ออกเสียงยาก ผู้อ่านควรฝึกอ่านไว้ล่วงหน้า เช่น คำสฤษฎ์ อ่าน สะ-หริด ชุกชี อ่าน ชุก-กะ-ชี
4. อ่านข้อเขียน ถ้าอ่านจากข้อเขียนที่เป็นลายมือของตนเองควรเขียนต้นฉบับให้อ่านง่าย ตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่พอ
อย่าให้มีขูด ขีด ฆ่า หรือโยงกลับไปกลับมาจนทำให้สับสนในขณะที่อ่าน การอ่านให้ผู้อื่นฟังนั้นจะต้องอ่านให้ต่อเนื่องกันไปโดยตลอด 
จะหยุดครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ได้
5. การรู้ความหมายของคำ จะทำให้อ่านคำได้ถูกต้อง เช่น อรหันต์ อ่านออกเสียง ออ-ระ-หัน หมายถึง สัตว์ในนิยาย 
มีสองเท้ามีปีก หัวเหมือนคนผู้วิเศษ อรหันต์ อ่านออกเสียง อะ-ระ-หัน หมายถึง ผู้สำเร็จธรรมพิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา 
กรี อ่านออกเสียง กะ-รี หมายถึง ช้าง อ่านออกเสียง กรี หมายถึง กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
6. การอ่านบทร้อยกรอง ต้องคำนึงถึงฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ และต้องอ่านเพื่อเอื้อสัมผัสด้วยจึงจะมีความไพเราะ 
เช่น สินสมุทรสุดคิดถึงบิตุเรศ คำที่ขีดเส้นใต้ควรอ่าน บิด-ตุ-เรด เพื่อให้เอื้อสัมผัสกับคำว่าผิด
7. การเว้นวรรค การอ่านเว้นวรรคได้ถูกต้องจะทำให้สื่อความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์ เช่น 
ฉันไม่รู้ / จะตอบ / แทนเธอ / อย่างไรดี ฉันไม่รู้ / จะตอบแทน / เธอ / อย่างไรดี (เป็นการแบ่งวรรคได้ถูกต้องสามารถสื่อ
ความหมายได้ถูกต้องตามความประสงค์)
8. อ่านจากสิ่งพิมพ์ จะต้องตรวจทานดูให้ดีว่า การพิมพ์เว้นวรรคตอนไว้ถูกต้องเพียงไร
9. ต้องทรงตัวและใช้กิริยาอาการ ให้ถูกวิธี
10. ใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพ การฝึกทักษะในการใช้เสียงให้มีประสิทธิภาพควรคำนึงถึง
- อัตราเร็วในการเปล่งเสียง
- ความดังในการเปล่งเสียง
- ระดับความสูงต่ำของเสียง
- คุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยเฉพาะ
11. อ่านให้ผู้ฟังได้รับสารจากบทที่อ่านนั้นครบถ้วน ทั้งสารที่สำคัญที่สุดและสารที่สำคัญรอง ๆ ลงไป
12. อ่านให้ผู้ฟังสนใจฟัง อยู่ตลอดเวลา
การอ่านในใจโดยบอกสาระที่ให้ความรู้ได้








การอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อเก็บความรู้และอ่านเอาเรื่อง ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนภาษาไทย 
และเป็นพื้นฐานในการศึกษาหาความรู้โดยทั่วไป ดังนั้นจึงควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะและสามารถนำ
ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านเป็นการช่วยสรุปสาระสำคัญของเรื่อง ทำให้เข้าใจเรื่องได้ครบถ้วน
ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการอย่างรวดเร็ว การฝึกทักษะอ่านเพื่อจับใจความ ผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมายของคำ 
และสำนวนในเรื่อง สามารถลำดับเหตุการณ์และลำดับความคิด แยกได้ว่าใจความใดเป็นใจความสำคัญและใจความใด
เป็นใจความรอง การอ่านจับใจความสำคัญเป็นทักษะการใช้ภาษาซึ่งจำเป็นต้องฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความ
ชำนาญสามารถอ่านจับใจความสำคัญรองได้รวดเร็วเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการจับใจความสำคัญ มีดังนี้
1. ถ้าเป็นเรื่องขนาดสั้น ต้องอ่านให้ตลอดเรื่องแล้วจึงสรุป แต่ถ้าเป็นเรื่องขนาดยาวควรอ่านทีละบท
ทีละตอน
2. เรื่องที่อ่านควรจับใจความให้ได้ว่าในเรื่องต้องการบอกความรู้ ความคิดเห็น การแสดงอารมณ์
ความรู้สึกของผู้เขียนอย่างไร พยายามค้นหาเรื่องที่เป็นหลักใหญ่ให้ได้ แล้วจึงพิจารณาประเด็นปลีกย่อย
3. การจับใจความเรื่องที่ไม่มีตัวบุคคล ควรพิจารณาว่าเรื่องอะไร บอกสั่งแนะนำอะไร เพื่ออะไร 
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่มีตัวบุคคล ควรจับใจความให้ได้ว่าเพื่ออะไร ใครทำอะไร ทำกับใคร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร
4. ควรฝึกจับใจความสำคัญของเรื่องสั้น ๆ ก่อนแล้วจึงจับใจความสำคัญของหนังสือขนาดยาวได้ และควรฝึก
จับใจความสำคัญในข้อเขียนทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
5. เมื่อจับใจความได้แล้ว ควรใช้ถ้อยคำและข้อความที่สรุปย่อ รวบรัดตรงประเด็น โดยพูดและเขียนเป็น
ภาษาของตนเอง
ข้อควรคำนึงในการใช้วิจารณญาณ มีดังนี้ 

1. เรื่องที่ฟังหรืออ่านมีลักษณะอย่างไร
2. ผู้พูด ผู้เขียนต้องการอย่างไร
3. แหล่งข่าวน่าเชื่อถือเพียงใด
4. ถ้าเป็นคำสั่ง คำแนะนำของบุคคลต้องดูว่า ผู้พูดมีลักษณะท่าทาง น้ำเสียงเป็นอย่างไร น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
5. เรื่องที่ฟังหรืออ่านเป็นเรื่องที่เคยพบเห็นตัวอย่างมาแล้วหรือไม่จะเกิดโทษและประโยชน์ต่อเรามากน้อยเพียงใด
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คือการรู้จักใคร่ครวญ พิจารณาเรื่องที่อ่านอย่างละเอียดลึกซึ้งในด้านต่าง ๆ เป็นการอ่าน
ที่ต้องอาศัยความสามารถในการคิดพิจารณาหาเหตุผลมาประกอบ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะด้านการอ่านขั้นสูง จึงควรฝึกให้เป็นนิสัย
เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น